ความเป็นมาของ S2S Fly High

โดย คุณ ต่อพงศ์ เสลานนท์
นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย

ความฝันของนักดนตรี

โดย คุณ อิทธิพล พิมทอง (โอ๊ต)
ศิลปิน S2S

แนวทางในการทำผลงาน

โดย หมอบิว คุณธีรวัตร พึ่งรัศมี
ผู้ก่อตั้ง Vintage Studio และ project producer

S2S Fly High

โครงการสร้างสรรค์ผลงานดนตรี ที่เริ่มตั้งแต่การจัด SongWriting Camp เรียนการเขียนเพลงจนพัฒนาออกมาเป็นผลงานโดยศิลปินผู้พิการทางสายตา เพื่อระดมทุนที่จะใช้ในการปรับปรุงห้องบันทึกเสียงของมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด ที่จะช่วยยกระดับวิชาชีพทางดนตรีของผู้พิการทางสายตาให้ทัดเทียมในระดับมืออาชีพ และเป็นที่สร้างศิลปินที่มีฝีมือโดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับในสากล

ที่มาของโครงการ

มูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด มีนักดนตรีที่มีทักษะเป็นเลิศที่พร้อมผลิตผลงาน และเป็นสถานที่ใช้จัดอบรมพัฒนาวิชาชีพการแสดงดนตรีในที่สาธาณะของผู้พิการทางสายตา มีความประสงค์ที่จะปรับปรุงห้องบันทึกเสียงเดิม ที่ยังไม่มีความพร้อมทั้งด้านสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์บันทึกเสียง ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานให้มีคุณภาพดี ดังที่ปรากฎในหน้าข่าว เมื่อวัน 31 มี.ค. 2560 ที่มีเหตุการณ์ฝ้าเพดานถล่มอันเกิดจากสภาพเก่าทรุดโทรมของโครงสร้างอาคาร เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ เมื่อคณะทำงานได้เข้าสำรวจพื้นที่และทำการออกแบบเบื้องต้น ทำให้ทราบถึงงบประมาณจำเป็นต้นใช้ในการปรับปรุง ซึ่งทางสถาบันดนตรีคนตาบอดยังไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะดำเนินการ จึงได้ริเริ่มคิดโครงสร้างที่จะระดุมขึ้นเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

Fly High

วันที่ 1 สิงหาคม 2560 คณะกรรมการจากมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการโครงการระดมทุน และเป็นการต่อยอดจากโครงการพัฒนาศักยภาพนักร้องนักดนตรีตาบอดในที่สาธารณะ from Street to Star หรือ S2S ที่เกิดขึ้นในปีก่อนหน้า โดยมีแนวคิดในการทำโครงการที่ไม่ใช่เพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง แต่เป็นกิจกรรมด้านดนตรีที่ทำให้ถึงเห็นศักยภาพของศิลปิน S2S ที่จะได้เห็นเรื่องราวขั้นตอนการทำงานจากศูนย์จนสำเร็จโดยคณะทำงานผู้พิการทางสายตาร่วมกับนักดนตรีทั้งมืออาชีพและสมัครเล่น โดยมีแรงสนับสนุนจากสังคมและผู้ติดตามที่คอยเป็นกำลังใจและร่วมบริจาค จนพัฒนาเป็นศิลปินและมีผลงานที่มีแฟนเพลงติดตาม อันจะเป็นสร้างงานต่อเนื่องและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับวงการ โครงการ S2S เป็นสิ่งที่เกิดจากความร่วมมือของหลายร่วมกันสร้างกันขึ้นมา ศิลปินหลายคนมีทักษะที่สูงมาก แต่สิ่งที่พวกเขายังขาดอยู่คือ “ปีก” ที่จะพาพวกเขาไปสู่ดวงดาว โครงการ S2F Fly High จะเป็นแรงส่ง ที่จะสร้างโอกาสให้ศิลปินเหล่านี้ทำงานดนตรีในอีกระดับ ที่จะมอบสุขให้กับทุกคน

ผลลัพธ์

  1. ความไพเราะทางดนตรี เพลงที่ฟังแล้วมีความสุข ความสบายใจ
  2. ความร่วมมือและมิตรภาพระหว่างทำงาน
  3. ได้ห้องบันทึกเสียงที่มีคุณภาพ
  4. พัฒนาศักยภาพของนักดนตรี และผลงานเพลง
  5. เป็นการสื่อสารถึงหัวใจ ให้ผู้ฟังจดจำศิลปิน S2S ทำให้เกิดการสนับสนุนศิลปินในระยะยาว

ประวัติความเป็นมา มูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด

ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากสหภาพคนตาบอดโลก ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่สหภาพคนตาบอดโลกครั้งที่ ๘ (The World Blind Union 8th General Assembly: WBU) ที่กรุงเทพมหานครโดยในการประชุมครั้งนั้นมีคนตาบอดและผู้เกี่ยวข้องกับคนตาบอดมาร่วมงานกว่า 1500 คนและได้รับความชื่นชมจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก โดยกิจกรรมหนึ่งที่คณะผู้จัดงานได้ตั้งใจจัดขึ้นเป็นสีสรรและเป็นหมุดหมายแห่งความทรงจำของการจัดการประชุมในครั้งนี้คือการริเริ่มจัดการแสดงดนตรี Thailand Blind Music Festival ครั้งที่ 1 ขึ้นมาเพื่อเป็นเวทีแสดงออกถึงความสามารถในทางดนตรีของคนตาบอดและเป็นแรงบันดาลใจให้กับการยกระดับมาตรฐานทางดนตรีของคนตาบอด ซึ่งคณะผู้จัดงานและสมาคมคาดหวังว่าในวันหนึ่งเมื่อการยอมรับของเพื่อนร่วมสังคมมากขึ้นในวันนั้นกฎหมายต่างๆที่เป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพของคนตาบอดจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงและเวทีในการแสดงดนตรีของคนตาบอดที่ได้รับการยอมรับจะเพิ่มมากขึ้น

ในปีพ.ศ. ๒๕๕๘ ประเทศไทยได้รับแรงกดดันจากหลายประเทศให้มีการแก้ไขปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่เป็นนโยบายหลักคือการปราบกรามขอทานและด้วยนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบกับคนตาบอดที่ร้องเพลงและแสดงดนตรีในที่สาธารณะอย่างมากและจากผลกระทบดังกล่าวกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้ร่วมกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยและสามค่ายเพลงใหญ่ของประเทศไทย และรวมถึงคนในวงการดนตรีอีกมากมายได้ร่วมกันจัดทำโครงการ"พัฒนาศักยภาพนักร้องนักดนตรีตาบอดในที่สาธารณะ จากถนนสู่ดวงดาว From Street To Star หรือ S2S ขึ้นมาเพื่อฝึกอบรมและยกระดับการร้องการเล่นการแสดงดนตรีและรวมถึงการบริหารจัดการวงดนตรีของคนตาบอดพร้อมไปกับการเสนอแก้กฎหมายควบคุมขอทานให้มีการแยกระหว่างขอทานกับผู้แสดงความสามารถในที่สาธารณะออกจากกัน

ข้อมูลภาพรวมของโครงการ

สถานที่ตั้งโครงการ

ศูนย์บริการคนตาบอดแห่งชาติ มูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด 40, 61/39-40 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 11 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กทม.

ขนาดพื้นที่โดยประมาณ

  1. พื้นภายในรวมต่อชั้น 226.1 ตร.ม. อาคารห้องแถว หน้ากว้าง 3.4 x ลึก 9.5 ม. (32.3 ตร.ม.) จำนวน 7 ห้อง
  2. พื้นที่ส่วนสถาบันดนตรีคนตาบอด รวม 102 ตร.ม. แบ่งเป็นส่วนห้องบันทึกเสียง และห้องควบคุม 64 ตร.ม. และพื้นที่ส่วนกลาง 38 ตร.ม.
  3. พื้นที่ส่วนห้องน้ำ 21 ตร.ม.

เป้าหมายการระดมทุน

6,000,000 บาทขึ้นไป

  1. ค่าปรับปรุงสถานที่ สร้างห้องบันทึกเสียง 3,500,000 บาท (226.1 ตร.ม. ประมาณ ตร.ม. ละ 15,400 บาท)
  2. ค่าอุปกร์เครื่องมือบันทึกเสียงและงานระบบ 2,000,000 บาท
  3. ค่าใช้จ่ายหมุนเวียนระหว่างทำโครงการ 500,000 บาท เช่น จัดกิจกรรม, ทำของที่ระลึก, ทำอัลบั๊มเพลง

ระยะเวลารวม 5 เดือน

สิงหาคม – ธันวาคม 2560

เดือน 1 สิงหาคม จัดเตรียมโครงการ, จัดทำ website ข้อมูล, บันทึกเพลงเบื้องต้นเพื่อแนะนำศิลปิน
เดือน 2 กันยายน เปิดโครงการ SongWriting Camp ครั้ง 1-2 รับสมัครและคัดเลือกผู้เข้าร่วมหลักสูตรเขียนเพลง
เดือน 3 ตุลาคม พัฒนาผลงานเพลงที่เขียน, บันทึกผลงานดนตรีร่วมกับศิลปินรับเชิญ
เดือน 4 พฤจิกายน ผลงานเพลงใหมเสร็จ บันทึกเสียงขึ้นสุดท้าย
เดือน 5 ธันวาคม เปิดตัวเพลงใหม่ จัดกิจกรรมปิดโครงการ เสวนา การแสดงดนตรี และรับยอดบริจาคงวดสุดท้าย
เดือน 6 มกราคม 2561 เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงพื้นที่

คณะทำงานผู้ดำเนินการ

โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นจากความร่วมมือของ 3 ฝ่ายได้ แก่

มูลนิธิสถาบันดนตรีเพื่อคนตาบอด ดูแลเรื่องศิลปินนักดนตรี และเป็นเจ้าภาพหลัก
Vintage Studio ดูแลเรื่องการผลิตผลงานดนตรี และอุปกรณ์สำหรับห้องบันทึกเสียง
kinddog ดูแลเรื่องการจัดการโครงการ และงานออกแบบในโครงการ ร่วมกับองค์กรณ์และบริษัทฯ ที่เข้ามาร่วมให้เป็นพันธมิตรและสนับสนุนเพิ่มเติมระหว่างโครงการ

คณะทำงาน

มูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด

นายต่อพงศ์ เสลานนท์

ประธานมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด/นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
ที่ปรึกษาโครงการ

นายสถาพร นิยมทอง

กรรมการมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด
ฝ่ายการผลิตเพลงและการแสดง

นายยุวัศ ดวงฉวี

กรรมการมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอดและผู้จัดการศิลปิน S2S
ฝ่ายประสานงานศิลปินและการแสดง

นางสาวกัญฐณา อภิรภากรณ์

กรรมการมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด
ฝ่ายครีเอทีฟและงานประชาสัมพันธ์

นายพิทยา ศรีโกตะเพ็ชร

กรรมการและเหรัญญิกมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด
ฝ่ายการเงินของโครงการ

นายรณยุทธ อิงสา

เลขานุการและผู้อำนวยการมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอด
ฝ่ายบริหารจัดการโครงการและดำเนินการเรื่องลิขสิทธิ์

นางสาวชนันรัตน์ เลิศเดชวรพัฒน์

เจ้าหน้าที่ประสานงาน
ฝ่ายประสานงานโครงการ / Costume

Vintage Studio (Music production)

สุดาทิพย์ พึ่งรัศมี (Belle)
ธีรวัตร พึ่งรัศมี (Bill)
ทวิรวัตร พึ่งรัศมี (Birth)
ธานินทร์ โฆสกิตติกุล (Nin)
วีรภัทร์ คำหอม (Bay)
ทิวากร กาญจนกิตติ (ต้น)
พชร ศิลมงคล (เพชร)
นันท์ลภัส กันมณี (มาย)
วรัชญ์ แสงมั่ง (Ham)
อดิลักษณ์ มลิแสง (โจ้)
ศรัณยู นันทวัฒนานุกูล (เฟรม)

Bangkok Sketchers

พิสิฐ อภิรติกุล

Conscious (Graphic and visual communication)

วีร์ วีรพร

kinddog

กวิน กฤษฎาพงษ์